อ.ปัว… จ. น่าน เมืองในอ้อมกอดแห่งขุนเขาที่นักเดินทางหลายคนอยากเดินทางมาสัมผัสกับธรรมชาติ และวิถีชีวิตของชุมชนที่ยังเอกลักษณ์ความเป็นมาของท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ช่วงเวลาที่เหมาะในการเดินทางเป็นช่วงหน้าฝนถึงปลายปีเลยครับ (จากภาพเป็นช่วงปลายเดือนพฤษภาคมครับ)
นอกจากอาชีพเกษตรกรรม การปลูกข้าวแล้ว ยังมีกลุ่มชาวบ้านที่ประกอบอาชีพหัตถกรรมสินค้าชุมชน อาทิเช่น กลุ่มผ้าทอไทลื้อบ้านเก็ต กลุ่มกะละแมไทลื้อบ้านเก็ต (สำหรับกาละแมที่นี่ หอม หวาน มันอร่อยมากๆครับ) นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชม ช้อปปิ้งของฝากติดไม้ติดมือกันได้เลยครับ…
⇑ ภาพด้านบน ผลิตภัณฑ์โอท๊อปของชุมชนทอผ้าไทลื้อบ้านเก็ตครับ ซึ่งได้มีการอนุรักษณ์สืบสานการทำผ้าทอมือจากรุ่นสู่รุ่นครับ
⇑ ภาพด้านบนเป็นผลิตภัณฑ์กาละแมไทลื้อแสนอร่อยของชุมชนบ้านเก็ตครับ ใครชื่นชอบกาละแมรับรองไม่ผิดหวังครับ…
⇑ ภาพด้านบน เป็นบรรยากาศน่ารักๆ ของวิถีชีวิตของชาวอ.ปัว ผู้คนต่างเฟรนลี่ เป็นมิตรไมตรีมากๆเลยหละครับ…
สายบุญ มาเที่ยวที่อ.ปัวแล้วไม่ผิดหวังแน่นอน…เพราะที่ปัวนี้มีวัดวาอาราม และสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ให้เคารพสักการะ มากมายเลยครับ
⇑ ภาพด้านบน วัดภูเก็ต เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อแสนปัว หรือ หลวงพ่อพุทธเมตตา” ที่ศักดิ์สิทธิ์หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ให้เราได้กราบไหว้บูชา และสำหรับสายถ่ายรูปวัดนี้บอกเลยว่าวิวสวยสุดๆครับ เพราะฉากหลังเป็นทุ่งนาเขียวขจี และเทือกเขาของอุทยานแห่งชาติดอยภูคาที่สูงตระง่านงามตา และที่เราเห็นเป็นบ้านมุงหญ่าคาหลังเล็กๆอยู่ด้านล่างนั้นเป็น ตูบนาไทลื้อ & ตูบนากาแฟ น่าน ซึ่งเป็นทั้งที่พัก และร้านกาแฟบรรยากาศนี้ใกล้ขิดกับธรรมชาติสุดๆครับ บอกเลย….
⇑ ภาพด้านบน วัดเฮี้ย เป็นวัดขนาดเล็กที่มีพระอุโบสถที่สวยงาม มีพญานาคสีเงินสวยงามสดุดตา 2 ตนอารักษ์พระอุโบสถอยู่ วัดนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดภูเก็ต ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2265 “เฮี้ย” เป็นชื่อของไผ่ชนิดหนึ่งที่สมัยก่อนบริเวณนี้มีขึ้นเยอะ ประกอบกับบริเวณนี้เป็นลำห้วย ชาวบ้านจึงเรียกลำห้วยนี้ว่า “ห้วยเฮี้ย” ต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดในบริเวณนี้ จึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดเฮี้ย”
⇑ ภาพด้านบน วัดร้องแง วัดโบราณของอำเภอปัว มีวิหารเก่าแก่โดดเด่นและงดงามด้วยวิหารศิลปะไทยลื้อ ลักษณะของวิหารหน้าบันเป็นลายพันพฤกษา วิหาร มีหลังคาคลุมต่ำ วัดร้องแงได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เป็นรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอารามโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ไม่ไกลจากวัดนี้ด้านหน้าวัด เป็นที่ตั้งของ หอเทพญารินทร์เจ้าหลวงช้างเผือกงาเขียว ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกันสามารถเดินผ่านทุ่งนาเพื่อสักการะท่านได้ “เจ้าหลวงช้างเผือกงาเขียว เป็นบรรพบุรุษของชาวไทลื้อบ้านร้องแง จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เจ้าหลวงช้างเผือกงาเขียว เดิมเป็นเจ้าเมืองรินทร์อยู่แคว้นสิบสองปันนาและได้ติดตามพญาแสนแก้ว กษัตริย์แคว้นสิบสองปันนามาทำสงคราม แล้วได้พาแม่ทัพนายกองและบริวารอพยพหนีข้าศึกมาตั้งเรือนใกล้แม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของปัวในปัจจุบัน แต่ข้าศึกก็ยังตามมาราวีอีก เจ้าหลวงช้างเผือกงาเขียวจึงได้เกณฑ์กำลังพลเพิ่มเติมต่อสู้กับข้าศึกจนถอยร่นและพ่ายแพ้ไปในที่สุด ครั้นเมื่อเจ้าหลวงถึงแก่กรรมจึงได้มีการสร้างหอและอนุสาวรีย์ไว้เป็นที่สักการะบูชา”
⇑ ภาพด้านบน วัดพระธาตุเบ็งสกัด นอกจากชมวิหารเก่าแก่แบบล้านนาแล้ว ยังมีองค์พระเจดีย์ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู๋ ซึ่งถือเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชุมชน เป็นสถาปัตยกรรมของช่างฝีมือน่านเลยทีเดียวครับ
⇑ ภาพด้านบน วัดพระธาตุจอมทอง เป็นพุทธศาสนสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของอำเภอปัว ซึ่งมีตำนานเล่าลือกันมาว่าผู้ที่สร้างพระธาตุขึ้น คือ ปู่ลัวะ และย่าลัวะ สองสามีภรรยาที่มาทำไร่บริเวณนี้ ได้พบพระสงฆ์รูปหนึ่งจึงเข้าไปกราบไหว้ พระสงฆ์รูปนั้นเห็นความดี จึงได้ แสดงตนเป็นพระพุทธเจ้า ได้ถอนเกศาใส่ใบตอง มอบให้สองสามีภรรยาไปสร้างพระธาตุ เมื่อสร้างเสร็จจึงได้ตั้งชื่อว่าพระธาตุ”จอมตอง” ต่อมาเจ้าเมืองน่านได้เสด็จไปนมัสการ และบูรณะสังขรณ์ใหม่ เรียกชื่อวาพระธาตุจอมทองมาถึงปัจจุบัน
ยังมี วัดบ้านต้นแหลง และวัดปรางค์ (ต้นดิกเดียม) ที่น่าสนใจอีกนะครับในอ.ปัวนี้ มาคราวนี้พี่ม่อนเก็บไม่ทันหว้าเสียดายจัง… เอาไว้รอบหน้าค่อยไปแล้วกันครับ…
⇑ ภาพด้านบน ร้านฟาร์มเห็ดบ้านหัวน้ำ เป็นอีกร้านหนึ่งที่นักท่องเที่ยวหากเดินทางมาปัวแล้วต้องเดินทางมาลิ้มลองอาหารพื้นเมืองอร่อยๆ กับวิวสวยๆของทางร้านกันแบบไม่ขาดสายเลยหละครับ….
ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูลประกอบบทความ : บางส่วนมาจากคอลัมม์ หลงรัก..เมืองปัว จากไปด้วยกันดอทคอม